English Lesson
Tense
Tense คือ รูปของคำกริยาที่บอกเวลาของการกระทำ ในภาษาอังกฤษการกระทำที่เกิดขึ้นในเวลาที่แตกต่างกันจะใช้รูปของคำกริยาที่แตกต่างกัน เช่น
1. I am playing football now. ( ฉันกำลังเล่นฟุตบอล )
2. I played football yesterday. ( ฉันเล่นฟุตบอลเมื่อวานนี้ )
ในประโยคที่ 1 รูปของคำกริยาคือ am playing บอกให้รู้ว่าการเล่นฟุตบอลกำลังเกิดขึ้นในขณะที่พูดประโยคนี้ออกมา
ในประโยคที่ 2 รูปของคำกริยาคือ played บอกให้รู้ว่าการเล่นฟุตบอลเกิดขึ้นเมื่อวานนี้
ชนิดของ Tense
Tense แบ่งออกเป็น 3 ชนิดใหญ่ คือ
1. Present Tense ใช้กับการกระทำที่เป็นปัจจุบัน
2. Past Tense ใช้กับการกระทำที่เป็นอดีต
3. Future Tense ใช้กับการกระทำที่เป็นอนาคต
แต่ละ Tense ใหญ่แบ่งออกเป็น 4 Tense ย่อย จึงมีทั้งหมด 12 Tense ดังนี้
1.3 โครงสร้างของ Tense
ทั้ง 12 Tense ย่อยมีโครงสร้างของประโยคดังนี้
Present Tense
Past Tense
Future Tense
1. Present Simple Tense
1. Past Simple Tense
1. Future Simple Tense
2. Present Progressive Tense
2. Past Progressive Tense
2. Future Progressive Tense
3. Present Perfect Tense
3. Past Perfect Tense
3. Future Perfect Tense
4. Present Perfect Progressive Tense
4. Past Perfect Progressive Tense
4. Future Perfect Progressive Tense
1.3 โครงสร้างของ Tense
ทั้ง 12 Tense ย่อยมีโครงสร้างของประโยคดังนี้
Present Tense
Past Tense
Future Tense
1. Present Simple Tense
1. Past Simple Tense
1. Future Simple Tense
2. Present Progressive Tense
2. Past Progressive Tense
2. Future Progressive Tense
3. Present Perfect Tense
3. Past Perfect Tense
3. Future Perfect Tense
4. Present Perfect Progressive Tense
4. Past Perfect Progressive Tense
4. Future Perfect Progressive Tense
Present Tense
Past Tense
Future Tense
1. S + V.1
1. S + V.2
1. S + will , shall +V.1
2. S + is ,am , are + V.1 เติม ing
2. S + was , were + V.1 เติม ing
2. S + will, shall + be + V.1 เติม ing
3. S + have , has + V.3
3. S + had + V.3
3. S + will , shall + have , has + V.3
4. S + have , has + been + V.1 เติม ing
4. S + had + been + V.1 เติม ing
4. S +will , shall + have + been + V.1 เติม ing
S ย่อมาจาก Subject หมายถึง ประธานของประโยค
V.1 ย่อมาจาก Verb 1 หมายถึง กริยาช่องที่ 1
V.2 ย่อมาจาก Verb 2 หมายถึง กริยาช่องที่ 2
V.3 ย่อมาจาก Verb 3 หมายถึง กริยาช่องที่ 3
2.1 ประโยค Present Simple Tense เชิงบอกเล่า
โครงสร้าง : Subject + Verb 1 (s )
( ประธาน + กริยาช่องที่ 1 ( s ) )
( เมื่อประธานเป็นเอกพจน์บุรุษที่ 3 หลังคำกริยาจะต้องเติม s )
ตัวอย่าง : 1.I go to school by car. (ฉันไปโรงเรียนโดยรถยนต์)
2. He walks to school. ( เขาเดินไปโรงเรียน )
3. You play football every day. ( คุณเล่นฟุตบอลทุกวัน )
4. Somsri and Somsak study English every day .( สมศรีและสมศักดิ์เรียนภาษาอังกฤษทุกวัน )
2.2 ประโยค Present Simple Tense เชิงปฏิเสธ
เมื่อต้องการแต่งประโยคใน Present Simple Tense ให้มีความหมายเชิงปฏิเสธ ทำได้ด้วยการใช้ Verb to do มาช่วย มีหลักการใช้ดังนี้
do ใช้กับประธานพหูพจน์ และ I กับ you
does ใช้กับประธานเอกพจน์ ซึ่งมีโครงสร้างดังนี้
โครงสร้าง : Subject + do / does + not + Verb 1
( ประธาน + do / does + not + กริยาช่องที่ 1 )
ตัวอย่าง : 1. I do not ( don’t ) go to school by car. ( ฉันไม่ไปโรงเรียนโดยรถยนต์ )
2. He does not ( doesn’t ) walk to school. ( เขาไม่เดินไปโรงเรียน )
3. You do not play football every day. ( คุณไม่เล่นฟุตบอลทุกวัน )
4. Somsri and Somsak do not study English every day .( สมศรีและสมศักดิ์ไม่เรียนภาษาอังกฤษทุกวัน )
ข้อสังเกต : เมื่อนำ does มาช่วยในประโยคแล้ว ต้องตัด s ออกด้วย
2.3 ประโยค Present Simple Tense เชิงคำถามและการตอบ
เมื่อต้องการแต่งประโยคใน Present Simple Tense ให้มีความหมายเชิงคำถาม ทำได้ด้วยการนำ do หรือ does มาวางไว้หน้าประโยค และตอบด้วย Yes หรือ No ซึ่งมีโครงสร้างของประโยคดังนี้
โครงสร้าง : Do / Does + Subject + Verb 1 ?
( Do / Does + ประธาน + กริยาช่องที่ 1 )
ตัวอย่าง : 1. Does he walk to school ? (เขาเดินไปโรงเรียนใช่หรือไม่ )
-Yes, he does. ( ใช่ เขาเดินไปโรงเรียน )
-No, he doesn’t. ( ไม่ใช่ เขาไม่ได้เดินไปโรงเรียน )
2. Do you play football every day ? ( คุณเล่นฟุตบอลทุกวันใช่หรือไม่ )
-Yes, I do. ( ใช่ ฉันเล่นฟุตบอลทุกวัน )
-No, I don’t. ( ไม่ใช่ ฉันไม่ได้เล่นฟุตบอลทุกวัน )
2.4 หลักการใช้ Present Simple Tense
ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่เป็นความจริงตลอดไปหรือเป็นความจริงตามธรรมชาติ เช่น
1. The sun rises in the east.( พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก )
2. Fire is hot. ( ไฟร้อน )
2. ใช้กับการกระทำที่กระทำอยู่จนเป็นนิสัย มักจะมีกลุ่มคำที่มีความหมายว่า เสมอๆ บ่อยๆ ทุกๆ อยู่ด้วย เช่น
I get up at six o’clock every day. ( ฉันตื่นนอนเวลา 6 นาฬิกาทุกวัน )
He plays football every day. ( เขาเล่นฟุตบอลทุกวัน )
2.5 หลักการเติม s ที่คำกริยา
1.กริยาที่ลงท้ายด้วย s, ss, sh, ch, o, หรือ x ให้เติม e ก่อนแล้วจึงเติม s เช่น
pass - passes = ผ่าน
brush - brushes = แปรงฟัน
catch - catches = จับ
go - goes = ไป
box - boxes = ชก
2.กริยาที่ลงท้ายด้วย y และหน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น ie แล้วจึงเติม s เช่น
cry - cries = ร้องไห้
fry - fries = ทอด
try - tries = พยายาม
ข้อยกเว้น ถ้ากริยานั้นหน้า y เป็นสระ ให้เติม s ได้เลย เช่น
play - plays = เล่น
stay - stays = พัก
3. กริยาที่นอกเหนือจากที่กล่าวในข้อ 1 และ ข้อ 2 ให้เติม s ได้เลย
Present Progressive Tense Home Pre-test ประโยคเชิงบอกเล่า ประโยคเชิงปฏิเสธ ประโยคเชิงคำถาม หลักการใช้ หลักการเติม ing Post test
3.1 ประโยค Present Progressive Tense เชิงบอกเล่า
โครงสร้าง: Subject + is, am, are + Verb 1 ing.
( ประธาน + is, am, are + กริยาช่อง 1 เติม ing.)
ตัวอย่าง 1. Somchai is sleeping. ( สมชายกำลังนอนหลับ )
2. I am playing football. ( ฉัน กำลังเล่น ฟุตบอล )
3. They are watching TV. ( พวกเขากำลังดูโทรทัศน์ )
3.2 ประโยค Present Progressive Tense เชิงปฏิเสธ
เมื่อต้องการแต่งประโยค Present Progressive Tense ให้มีความหมาย เชิงปฏิเสธให้นำ not มาเติมหลัง Verb to be ซึ่งมีโครงสร้างดังนี้
โครงสร้าง: Subject + is, am, are + not + Verb 1 ing.
( ประธาน + is, am, are + not + กริยาช่อง 1 เติม ing. )
ตัวอย่าง : 1. Somchai is not ( isn’t ) sleeping. ( สมชายไม่ได้กำลังนอนหลับ )
2. I am not playing football. ( ฉันไม่ได้ กำลังเล่น ฟุตบอล )
3. They are not ( aren’t ) watching TV. ( พวกเขาไม่ได้กำลังดูโทรทัศน์ )
3.3 ประโยค Present Progressive Tense เชิงคำถามและการตอบ
เมื่อต้องการแต่งประโยค Present Progressive Tense ให้มีความหมาย เชิงคำถามให้นำ Verb to be มาวางไว้หน้าประโยค
และตอบด้วย Yes หรือ No ซึ่งมีโครงสร้างดังนี้
โครงสร้าง: Is, Am, Are + Subject + Verb 1 ing. ?
( Is, Am, Are +ประธาน + กริยาช่อง 1 เติม ing. ? )
ตัวอย่าง : 1. Is Somchai sleeping ? ( สมชายกำลังนอนหลับใช่หรือไม่ )
-Yes, he is . ( ใช่ เขากำลังนอนหลับ )
-No, he isn’t. ( ไม่เขาไม่ได้กำลังนอนหลับ )
2. Are they studying English ? (พวกเขากำลังเรียนภาษาอังกฤษใช่หรือไม่ )
-Yes, they are. ( ใช่พวกเขากำลังเรียน )
-No, they aren’t . ( ไม่พวกเขาไม่ได้กำลังเรียน )
3. Am I playing football ? ( ฉัน กำลังเล่น ฟุตบอลใช่หรือไม่ )
-Yes, you are. ( ใช่คุณกำลังเล่นฟุตบอล )
-No, you aren’t . ( ไม่คุณไม่ได้กำลังเล่นฟุตบอล
3.4 หลักการใช้ Present Progressive Tense
1. ใช้กับการกระทำที่กำลังเกิดขึ้นในขณะที่พูด เช่น
1. I am studying English . ( ฉันกำลังเรียนภาษาอังกฤษ )
2. Somchai is sleeping. ( สมชายกำลังนอนหลับ )
3. They are watching TV. ( พวกเขากำลังดูโทรทัศน์ )
3.5 หลักการเติม ing ท้ายคำกริยา
1. คำกริยาธรรมดา ให้เติม ing ได้เลย เช่น
speak ( พูด ) - speaking
eat (กิน) - eating
2. คำกริยาที่มีพยางค์เดียว มีตัวสะกดตัวเดียว ให้เพิ่มตัวสะกดอีก 1 ตัว แล้วเติม ing เช่น
sit ( นั่ง ) - sitting
run ( วิ่ง ) - running
3. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย e เพียงตัวเดียวให้ตัด e ทิ้งแล้วเติม ing เช่น
come ( มา ) - coming
drive ( ขับรถ ) - driving
4. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย ie ให้เปลี่ยน ie เป็น y แล้วเติม ing เช่น
die ( ตาย ) - dying
lie ( นอน ) - lying
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น